ป่าไม้ไทย


           "ป่าไม" เป็นศูนย์รวมของสรรพชีวิต เป็นที่ก่อกำเนิดสายน้ำ ชีวิตพืชและสัตว์ที่หลากหลายอีกทั้ง เป็นที่พึ่งพิงและให้ประโยชน์แก่มนุษย์มาแต่โบราณกาล เพราะป่าไม้ช่วยรักษาสมดุลของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคุมสภาพดินฟ้าอากาศ กำบังลมพายุ ป้องกันบรรเทาอุทกภัย ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน เป็นเสมือนเขื่อนธรรมชาติที่ป้องกันการตื้นเขินของแม่น้ำลำคลอง เป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเป็นโรงงานผลิตออกซิเจนขนาดใหญ่ เป็นคลังอาหารและยาสมุนไพร และป่าไม้ยังเป็นแหล่งศึกษาวิจัยและเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของมนุษย์ นอกจากนี้ ในผืนป่ายังมีสัตว์ป่านานาชนิดซึ่งมีประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในหลายลักษณะ ได้แก่ การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ เช่น การควบคุมปริมาณสัตว์ป่าให้อยู่ในภาวะสมดุล การช่วยแพร่พันธุ์พืช การควบคุมแมลงศัตรูพืช เป็นปุ๋ยให้กับดินในป่า เป็นต้น การเป็นแหล่งพันธุกรรมที่หลากหลาย การเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์อื่น และการสร้างรายได้ให้แก่มนุษย์ เช่น การทำการค้าจากชิ้นส่วนต่างๆ ของสัตว์ป่า การจำหน่ายสัตว์ป่า และการเปิดให้บริการเข้าชมสวนสัตว์ เป็นต้น ดังนั้น จึงนับว่าป่าไม้ให้คุณประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่มวลมนุษย์เป็นอย่าง มากมาย หากป่าไม้เสื่อมถอยไป ย่อมเป็นบ่อเกิดความทุกข์ยากแก่ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์และสัตว์อย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้

สถานการณ์ป่าไม้

    สถานการณ์พื้นที่ป่าไม้ของประเทศที่ผ่านมา  คือปัญหาการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ที่มีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕o๔  ในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมาทำให้ประเทศไทยสูญเสียพื้นที่ป่า  เฉลี่ยประมาณ 1.6 ล้านไร่ต่อปี
 

    การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่องในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมาทำให้ ประเทศไทยสูญเสีย พื้นที่ป่าไปแล้วประมาณ 67 ล้านไร่ หรือเฉลี่ยประมาณ 1.6 ล้านไร่ต่อปี กล่าวคือ ปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าอยู่ถึงร้อยละ 53.3 ของพื้นที่ประเทศ หรือประมาณ 171 ล้านไร่ และลดลงมาโดยตลอดจนในปี พ.ศ. 2532 ประเทศไทยเหลือพื้นที่ป่าเพียงร้อยละ 27.95 ของพื้นที่ทั้งหมด หรือประมาณ 90 ล้านไร่  รัฐบาลในอดีตได้พยายามจะรักษาพื้นที่ป่าโดยประกาศยกเลิกสัมปทานการทำไม้ใน ป่าบกทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2532 แต่หลังจากยกเลิกสัมปทานป่าไม้ สถานการณ์ดีขึ้นในระยะแรกเท่านั้น ต่อมาการทำลายก็ยังคงเกิดขึ้นไม่แตกต่างจากสถานการณ์ก่อนยกเลิกสัมปทาน ป่าไม้เท่าใดนัก โดยพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกก่อนการยกเลิกสัมปทาน (ปี พ.ศ. 2525-2532) เฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 1.2 ล้านไร่ และพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกหลังการยกเลิกสัมปทาน (ปี พ.ศ. 2532-2541) เฉลี่ย 1.1 ล้านไร่ต่อปี 





 

ผลกระทบจากการทำลายป่าไม้

ทรัพยากรดิน

  • การชะล้างพังทลายของดิน ปกติพืชพรรณต่างๆ มีบทบาทในการช่วยสกัดกั้นไม่ให้ฝนตกถึงดินโดยตรง ความต้านทานการไหลบ่าของน้ำ ช่วยลดความเร็วของน้ำที่จะพัดพาหน้า ดินไป มีส่วนของรากช่วยยึดเหนี่ยวดินไว้ ทำให้เกิดความคงทนต่อการพังทลายมากยิ่งขึ้น แต่หากพื้นที่ว่างเปล่าอัตราการ พังทลายของดินจะเกิดรุนแรง การสูญเสียดินจะเพิ่มขึ้น
  • ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ บริเวณพื้นดินที่ไม่มีวัชพืชหรือป่าไม้ปกคลุม การพัดพาดินโดยฝนหรือลมจะเกิดขึ้น ได้มาก โดยเฉพาะบริเวณผิวหน้าดิน

ทรัพยากรน้ำ

  • ความแห้งแล้งในฤดูแล้ง การแผ้วถางทำลายป่าต้นน้ำเป็นบริเวณกว้าง ทำให้พื้นที่ป่าไม้ไม่ติดต่อกันเป็นผืนใหญ่ ทำให้เกิดการระเหยของน้ำจากผิวดินสูง แต่การซึมน้ำผ่านผิวดินต่ำ ดินดูดซับและเก็บน้ำภายในดินน้อยลง ทำให้น้ำหล่อ เลี้ยงลำธารมีน้อยหรือไม่มี
  • คุณภาพน้ำเสื่อมลง คุณภาพน้ำทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพล้วนด้อยลง ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง หรือทำลายพื้นที่ป่า การปนเปื้อนของดินตะกอนที่น้ำพัดพาด้วยการไหลบ่าผ่านผิวหน้าดินหรือในรูปแบบ อื่น ๆ นอกจากนี้ การปราบวัชพืชหรืออินทรีย์ต่างๆ ที่อยู่ในแนวทางเดินของน้ำ ก่อให้เกิดการปนเปื้อนและสร้างความสกปรกต่อน้ำได้ ไม่มากก็น้อย
  • น้ำเสีย การปลดปล่อยของเสียหรือน้ำเสียลงสู่ลำน้ำสาธารณะ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำให้เกิดปัญหาน้ำเสียโดยเฉพาะลำห้วย ลำธาร ที่น้ำไหลช้าบริเวณที่ราบ สิ่งมีชีวิตในน้ำตายและสูญพันธุ์ ขาดน้ำดิบทำการประปา

อากาศ

  • อากาศเสีย การหายใจของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา หากมีต้นไม้จำนวนมากหรือพื้นที่ป่ามากพอ ต้นไม้เหล่านี้จะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในตอนกลางวันเพื่อการ สังเคราะห์ด้วยแสง หรือก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์จะดูดซับไว้โดยพืชชั้นสูงเหล่านี้ อากาศเสียก็จะไม่เกิดขึ้น
  • โลกร้อน หรือเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก (Green house Effect) ก๊าซเหล่านี้ยอมให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ผ่านลงมายังพื้นโลกได้ ทำให้สามารถเก็บความร้อนจากการดูดซับรังสีไว้มากขึ้นโลกจึงมีอุณหภูมิสูง ขึ้น กลุ่มก๊าซที่รวมตัวกันเป็นเกราะกำบัง ได้แก่ ก๊าซมีเทน ไนตรัสออกไซด์ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน คาร์บอนเตตระคลอไรด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ และที่สำคัญคือ คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีมากที่สุด
  • ทั้งหมดที่กล่าวมานี้นักวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยนั้นได้กล่าวว่า"การที่ โลกมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เยอะนั้นไม่ได้มีแต่จะทำให้โลกร้อนอย่างเดียวแต่ ยังมีประโยชน์ ถ้าเราปลูกต้นไม้ให้มันเยอะๆก็ดีแต่ต้นไม้มันก็ต้องมีใบที่เหี่ยวแห้งร่วง หล่น ซึ่งเมื่อใบไม้ที่เหี่ยวปห้งร่วงหล่นมาสู่พื้นดินแล้วทับถมกันไปเรื่อยๆก็จะ ทำให้เกิดก๊าซมีเทนซึ่งจะส่งผลเสียแต่อย่างเดียว เพราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังมีประโยชน์ทางอ้อมอีกคือ เมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลอยขึ้นเหนือฟ้ามันก็ยังช่วยบังแสงอาทิตย์เพื่อ ไม่ให้โลกร้อนเช่นเดียวกับฝุ่นละอองต่างๆ"

สาเหตุของการสูญเสียทรัพยากรป่าไม้


   ตลอดเวลา 30 ปีที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่าการสูญเสียพื้นที่ป่าหรือพื้นที่ป่าไม้เสื่อมโทรมลง สามารถสรุปได้ดังนี้

   1.การทำไม้ ความต้องการไม้เพื่อกิจการต่างๆ เช่น เพื่อทำอุตสาหกรรมโรงเลื่อย โรงงานกระดาษสร้างที่อยู่อาศัยหรือการค้า 

 
   2.การ เพิ่มจำนวนประชากรของประเทศ ทำให้ความต้องการจากภาคเกษตรกรรมมากขึ้น 


   3.การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก เช่น มันสำปะหลัง ปอ ฯลฯ โดยไม่ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพ

 
   4.การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่า กระทำไม่ชัดเจนหรือไม่กระทำเลยในหลายๆ ป่า ทำให้ราษฏรเกิด ความสับสนทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา 


 
   5.การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ อาทิ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เส้นทางคมนาคม 


 
   6.ไฟไหม้ป่า ประเทศไทยมักเกิดไฟไหม้ป่าในฤดูร้อนเป็นประจำทุกปี เพราะในฤดูร้อนพวกวัชพืชในป่าหรือจากการผลัดใบของต้นไม้ ใบไม้จะแห้งแล้งและติดไฟง่าย การสูญเสียป่าไม้เกิดขึ้นทุกๆ ปี


 
   7.การทำเหมืองแร่ แหล่งแร่ที่พบในบริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุมอยู่ มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดหน้าดินก่อน จึงทำให้ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมถูกทำลายลง เส้นทางขนย้ายแร่ในบางครั้งต้องทำลายป่าไม้ลงเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างถนนหนทาง การระเบิดหน้าดินเพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ธาตุเกิดผลทำลายป่าไม้บริเวณใกล้เคียง โดยไม่รู้ตัว


   8.การทำลายของสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยง สัตว์ทำลายป่าไม้โดย                     (1) กัดกินใบ กิ่ง รากเหง้าหรือหน่อของพืช 

    (2) การเหยียบย่ำจะทำให้ต้นอ่อนของพืชถูกทำลาย 
 
   9.การทำลายของเชื้อโรคและแมลง 
 


  10.ความตระหนักและความร่วมมือของประชาชนต่อการอนุรักษ์ยังมีน้อย 



การอนุรักษ์ป่าไม้

      ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่ให้ประโยชน์อย่างมากมายกับคนเรา การจะอนุรักษ์ป่าไม้ให้คงอยู่อำนวยประโยชน์ ให้กับเราตลอดได้นั้น เราทุกคนจะต้องร่วมมือร่วมใจกันดูแลรักษา และใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ามากที่สุด ปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้กำลังถูกทำลายลงเรื่อย ๆ และอาจจะหมดลงได้ในไม่ช้านี้ หากจะให้ทาง ราชการดำเนินการอนุรักษ์เพียงฝ่ายเดียวคงไม่ได้ผลเพียงพอ จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจ ขอความร่วมมือจากประชาชน ให้ช่วยกันรักษาป่าไม้ในท้องถิ่นของตนเอง


 1.ช่วยกันดูแลรักษาป่าไม้ในท้องถิ่นที่ยังเหลืออยู่มิให้ถูกทำลายเพิ่มด้วยการ
      1.1 ไม่ลักลอบตัดไม้ทำลายป่าเสียเอง
      1.2 ไม่บุกรุกแผ้วถาง ยึดถือครอบครองพื้นที่ป่าไม้
      1.3 ใช้ไม้อย่างประหยัดและให้คุ้มค่าที่สุด
      1.4 ให้ความร่วมมือกับทางราชการในการป้องกันรักษาป่า
  
2. ช่วยกันปลูกต้นไม้
      2.1 สนับสนุนการปลูกสวนป่าของทางราชการ ด้วยการ
         2.1.1 ไม่บุกรุกพื้นที่ป่าซึ่งทางราชการจะทำการปลูกสวนป่า
         2.1.2 ไม่ขัดขวางการปลูกสวนป่าของทางราชการ เช่น ทำลายกล้าไม้ ทำลายแปลง
เพาะชำกล้าไม้ ตัดต้นไม้ในสวนป่า เผาสวนป่า และทำลายวัสดุอุปกรณ์ของสวนป่า
          2.1.3 ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ปลูกป่าทุกหน่วยงาน
     2.2 ช่วยกันปลูกต้นไม้ในท้องถิ่น
         2.2.1 เป็นผู้นำปลูกต้นไม้ทุกโอกาสสำคัญที่ควรปลูกต้นไม้
        2.2.2 ช่วยกันดูแล บำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกให้เจริญเติบโต
        2.2.3 ช่วยสนับสนุนเมล็ดไม้ จัดหากล้าไม้ หรือเพาะชำกล้าไม้
        2.2.4 ไม่ขัดขวางการปลูกต้นไม้ในท้องถิ่น
      2.3 เข้าฟังการประชุม ชี้แจง บรรยายความรู้ หรือฝึกอบรมกิจกรรมการปลูกต้นไม้ ตามโอกาสอันควร

3. ช่วยป้องกันไฟป่า ข้อแนะนำในการป้องกันไฟป่า ได้แก่
      3.1 ไม่จุดไฟเผาป่าเสียเอง ซึ่งนอกจากจะเป็นการทำลายทรัพยากรป่าไม้ของชาติ แล้วยังเป็นการกระทำผิดกฎหมายหลายฉบับ เช่น กฎหมายป่าไม้และประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีโทษหนักอีกด้วย
     3.2 ดับไม้ขีดไฟ บุหรี่ หรือกองไฟให้สนิททุกครั้ง
     3.3 อย่าจุดไฟเล่นด้วยความคึกคะนอง
     3.4 หากมีความจำเป็นต้องก่อกองไฟในป่า เพื่อไล่ยุงหรือไล่สัตว์ หรือก่อแคมป์ไฟ ควรทำในที่โล่ง ไม่มีเชื้อเพลิงอยู่ใกล้เคียง หรือสถานที่ที่เจ้าหน้าที่จัดไว้ให้ เมื่อเลิกใช้แล้วต้องดับให้สนิท
    3.5 การเผาไร่ เผาฟางข้าว เผาเศษไม้ปลายไม้ ควรกำหนดเผาเป็นจุด ๆ ไม่ควรเผาขณะที่ลมพัดแรง และควรเผาในเวลากลางวันจะสามารถควบคุมไฟได้ง่ายกว่ากลางคืน
                                         
4. ช่วยประชาสัมพันธ์เผยแพร่ด้านป่าไม้
     4.1 นำความรู้ ความเข้าใจด้านป่าไม้ เผยแพร่
     4.2 มีส่วนช่วยในการส่งเสริมด้านป่าไม้
     4.3 ชี้นำ ประสานงาน และร่วมดำเนินการในการจัดกิจกรรมด้านอนุรักษ์ป่าไม้

     4.4 เป็นผู้นำจัดตั้งกลุ่ม ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติในท้องถิ่น